ประวัติสถานศึกษา
วิทยาลัยการอาชีพสระบุรี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ วิทยาลัยการอาชีพสระบุรี เดิมชื่อ ศูนย์ฝึกวิชาชีพสระบุรี เป็นศูนย์ฝึกวิชาชีพ รุ่นที่ 2 ของโครงการ จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2526 โดยมีนักเรียนจำนวน 503 คน และได้ทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2528 โดย ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายขุนทอง ภูผิวเดือน) เป็นประธานในพิธี ต่อมาในปี พ.ศ. 2534 กระทรวงศึกษาธิการ ได้มีประกาศปรับปรุงโรงเรียนสารพัดช่างและศูนย์ฝึกวิชาชีพ เป็น วทยาลัยสารพัดช่างและวิทยาลัยการอาชีพ ตั้งแต่วันที่ 7 มิถุนายน 2534 เป็นต้นไป ศูนย์วิชาชีพสระบุรี จึงเปลี่ยนชื่อเป็นวิทยาลัยการอาชีพสระบุรี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีพวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มีเนื้อที่ 80 ไร่ ตั้งอยู่เลขที่ 112 หมู่ 9 ถ.พหลโยธิน ตำบลขุนโขลน อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี รหัสไปรษณีย์ 18120 โทรศัพท์ 0-3626-6561 โทรสาร 0-3626-8666 เว็บไซต์ www.sic.ac.th อีเมล์
อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน
,
อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน
ขนาดที่ตั้ง
วิทยาลัยการอาชีพสระบุรี ห่างจากอำเภอพระพุทธบาท ประมาณ 1 กิโลเมตร ห่างจากอำเภอเมืองสระบุรี ประมาณ 27 กิโลเมตร ห่างจากอำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ประมาณ 18 กิโลเมตร ด้านหน้าวิทยาลัยติดกับถนนพหลโยธิน มีพื้นที่ 80 ไร่ ซึ่งเป็นที่ดินของวัดพระพุทธบาทวรมหาวิหาร บริจาคให้ใช้เพื่อการศึกษา โดยมีอาณาเขต ดังนี้
ทิศเหนือ | ติดต่อกับ | ถนนพหลโยธิน | ||
ทิศใต้ | ติดต่อกับ | ที่ดินของ นายสำอาง รุจิเศรษฐ | ||
ทิศตะวันออก | ติดต่อกับ | สนามกอลล์ฟ PPW | ||
ทิศตะวันตก | ติดต่อกับ | เทศบาลเมืองพระพุทธบาท |
สภาพชุมชน เศรษฐกิจ สังคม การเมือง
- สภาพทางภูมิศาสตร์
อำเภอพระพุทธบาท อันเป็นที่ตั้งของวิทยาลัยการอาชีพสระบุรี มีพื้นที่ 287,065 ตารางกิโลเมตร
ทิศเหนือ | ติดต่อกับ | เขตอำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี | ||
ทิศใต้ | ติดต่อกับ | อำเภอบ้านหม้อ อำเภอหนองโดน จังหวัดสระบุรี | ||
ทิศตะวันออก | ติดต่อกับ | อำเภอเมือง อำเภอสาไห้ จังหวัดสระบุรี | ||
ทิศตะวันตก | ติดต่อกับ | อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี |
- ลักษณะภูมิประเทศ
อำเภอพระพุทธบาท ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของจังหวัดสระบุรี ภูมิประเทศทั่วไปประกอบด้วยป่าเขา ที่ราสูง และที่ราบลุ่ม ซึ่งจำแนกพื้นที่ได้ดังนี้
พื้นที่ 25% เป็นป่าเขา ลักษณะเป็นเขาหินซึ่งอยู่ในตำบลขุนโขลน ตำบลเขาวง และตำบลพุคำจาน
พื้นที่ 45% เป็นที่ราบสูงเชิงเขา เหมาะสำหรับปลูกพืชไร่ ได้แก่ พื้นที่ตำบลขุโขลน ตำบลธารเกษม ตำบลพุคำจาน ตำบลเขาวง ตำบลพระพุทธบาท และตำบลพุกร่าง
พื้นที่ 30% เป็นที่ราบลุ่ม เหมาะสำหรับการทำนา ได้แก่ พื้นที่ในเขตตำบลห้วยป่าหวาย ตำบลหนองแก ตำบลเขาวง และตำบลนายาว
- การปกครอง
การบริหารราชการส่วนภูมิภาค อำเภอพระพุทธบาท แบ่งการปกครองเป็น 7 ตำบล การบริหารส่วนท้องถิ่น มีเทศบาล 1 เทศบาล
- สภาพเศรษฐกิจ
เนื่องจากสภาพพื้นที่ในอำเภอพระพุทธบาท มีทั้งที่ราบลุ่ม และป่าเขา ประชากรส่วนใหญ่ จึงประกอบอาชีพเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมโรงโม่หิน
- สภาพการจัดการศึกษา
1. การศึกษาในระบบโรงเรียน แบ่งเป็น 3 ระดับ คือ
- ระดับก่อนประถมศึกษา จัดเป็นอนุบาล 2 ปี อนุบาล 3 ปีและเด็กเล็ก
- ระดับประถมศึกษา เป็นการศึกษาภาคบังคับ จัดการศึกษาตอนเดียว 6 ปี
- ระดับมัธยมศึกษา เป็นการศึกษาต่อจากระดับประถมศึกษา แบ่งเป็น 2 ตอน คือ มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย ใช้เวลาเรียนตอนละ 3 ปี ในส่วนของอำเภอพระพุทธบาทนั้น ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เปิดสอนในโรงเรียนสังกัดกรมสามัญและสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
2. การศึกษานอกระบบโรงเรียน เป็นการศึกษาที่จัดขึ้นนอกเหนือจากการศึกษาในระบบโรงเรียน กล่าวคือ เป็นการสอนในระดับสามัญ ตั้งแต่ระดับประถมศึกษาถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และจัดเป็นกิจกรรมการศึกษาสายอาชีพ เปิดสอนหลักสูตรระยะสั้น 30-300 ชั่วโมง จัดการศึกษาโดยศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน
- แหล่งวิชาการนอกระบบ
1. ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน 1 ศูนย์
2. ห้องสมุดประชาชน 2 แห่ง
3. ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน 19 แห่ง
4. ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด 1 แห่ง
- ข้อมูลทางศาสนา
1. ศาสนาสถาน มี 54 วัด แบ่งเป็น ธรรมยุต 4 วัด และมหานิกาย 50 วัด
2. จำนวนประสงฆ์ 465 รูป แบ่งเป็น ธรรมยุต 50 รูป และ มหานิกาย 415 รูป
3. จำนวนสามเณร 200 รูป แบ่งเป็น ธรรมยุต 20 รูป และมหานิกาย 179 รูป
4. โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรมและบาลี 1 โรงเรียน
5. โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญ 1 โรงเรียน
6. ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด 1 ศูนย์
- ศิลปวัฒนธรรมและโบราณสถาน
1. โบราณสถานทีกรมศิลปากรขึ้นทะเบียนไว้ 12 แห่ง ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในตำบลขุนโขลน ได้แก่
- พระพุทธบาท สิ่งสำคัญ คือ มณฑป,รอยพระพุทธบาท,พระวิหารหลวงและคลัง
- พระราชวังโบราณ(ตำหนักท้ายพิกุล)มีพระที่นั่งต่างๆและกำแพงวัง
- คันกั้นน้ำ (ทำนบศรีธนนชัย) สิ่งสำคัญ คือ รากกำแพงและท่อ
- ธารทองแดง มีเขื่อนกั้นน้ำ
- ตำหนักธารเกษม มีสิ่งสำคัญ คือ รากฐานตำหนักและรากเกย
- ตำหนักสระยอ มีรากฐานตำหนักและรากเกย
- ถ้ำวิมานจักรี มีพระปรมาภิไธยย่อ จปร.ที่ผนังถ้ำ
- ถ้ำมหาสนุก ในถ้ำมีเทวรูปปูนปั้น พระสังกัจจายน์และพระปรมาธิไธย จปร.เหนือจากถ้ำ
- ถ้ำระฆัง มีพระพุทธรูปศิลา
- เจ้าพ่อเขาตก มีสิ่งสำคัญคือ เทวรูปปูนปั้น 2 องค์
- ถ้ำพระบาทใหญ่ ตั้งอยู่ที่ตำบลพุกร่าง มีสิ่งสำคัญคือ พระพุทธบาททำด้วยหินทราย ศิลา
จารึกนูนรูปบุคคลขี่หงส์ (ชำรุด) และ ชิ้นส่วนพระพุทธรูปหินทราย
2. พิพิธภัณฑ์ อำเภอพระพุทธบาท มีพิพิธภัณฑ์ 1 แห่ง ตั้งอยู่ในวัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร
3. ภาษา ประชากรในอำเภอพระพุทธบาท พูดภาษาไทยกลางเป็นส่วนมาก ส่วนภาษไทยอีสาน ภาษาไทยพวน และภาษาไทยยวน มีพูดกันบ้างในบางหมู่บ้าน
4. ประเพณีที่สำคัญของอำเภอ คือ ประเพณีตักบาตรดอกไม้ ประเพณีแห่เทียนพรรษาพระราชทาน ประเพณีถวายน้ำสงกรานต์พระราชทาน ประเพณีแห่มังกรทองเจ้าพ่อเขาตก ประเพณีแห่พระเขี้ยวแก้ว นอกนั้นเป็นประเพณีตามเทศกาล
5. ดนตรี นาฏศิลป์ ดนตรีส่วนใหญ่เหมือนกับภาคกลางทั่วไป เช่น กลองยาว เครื่องสาย
6. ศูนย์รวมความเคารพศรัทธาของชาวอำเภอพระพุทธบาท คือ รอยพระพุทธบาท