วันพุธที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ผู้ดีเจ๋งผลิตเชื้อเพลิงลิตรละ9บาททดแทนน้ำมัน

ผู้ดีเจ๋งผลิตเชื้อเพลิงลิตรละ9บาททดแทนน้ำมัน


นับวันราคาน้ำมันยิ่งแพงขึ้นเรื่อยๆ เพราะเป็นเชื้อเพลิงที่ใช้แล้วร่อยหรอ ต้องอาศัยเวลาหมักซากพืชซากสัตว์หลายล้านปีกว่าจะสร้างขึ้นมาใหม่ได้ นักวิทยาศาสตร์จึงพยายามแสวงหาพลัง งานทางเลือกต่างๆ มาใช้แทนน้ำมัน ล่าสุดนักวิทยาศาสตร์จากอังกฤษคิดค้น 'น้ำมันเทียม' ต้นทุนต่ำ ที่สำคัญไม่ปล่อยคาร์บอนขึ้นมาได้แล้ว คาดว่าจะพร้อมให้บริการตามปั๊มได้ภาย 3-5 ปีนี้

นักวิจัยจากห้องทดลองรัตเธอร์ฟอร์ด แอปเปิลตัน มหาวิทยาลัยลอนดอนและออกซ์ฟอร์ด ร่วมกันพัฒนาเชื้อเพลิงชนิดใหม่ ที่เกิดจากการอัดโมเลกุลไฮโดรเจนให้หนาแน่นจนเป็นเม็ดเท่าลูกปัดแต่สามารถเท และปั๊มได้เหมือนของเหลว เป็นเชื้อเพลิงที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพราะไม่ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจก

ศ.สตีเฟน เบนนิงตัน ผู้นำโครงการ กล่าวว่า วัตถุดิบหลักที่ใช้ไฮโดร เจนทำให้เมื่อเผาไหม้ไม่มีสารพิษใดๆ นอกจากน้ำเปล่า และไม่แพง ตกราคาลิตรละ 19 เพนนี หรือ 9 บาทกว่า การทดลองในท้องถนนจะเริ่มขึ้นปีหน้า ถ้าหากไปได้สวย ก็จะเริ่มผลิตเพื่อออกจำหน่ายในตลาด

"ไฮโดรเจนเป็นเชื้อเพลิงที่สมบูรณ์แบบ ให้พลังงานมากกว่าน้ำมัน 3 เท่าเมื่อน้ำหนักเท่ากัน จะเข้ามาทดแทนน้ำมันรถ น้ำมันเครื่องบินและพาหนะอื่นๆ ซึ่งใช้ไฮโดรคาร์บอน"

วันศุกร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2553

เนคเทคเจ๋งผลิตอุปกรณ์เตือนความร้อนรถยนต์เครื่องแรกในไทย

เนคเทคเจ๋งผลิตอุปกรณ์เตือนความร้อนรถยนต์เครื่องแรกในไทย




เมื่อวันที่ 29 เม.ย. นายเอกราช รัตนอุดมพิสุทธ์ หัวหน้าโครงการอุปกรณ์แจ้งเตือนกรณีเครื่องยนต์มีความร้อนผิดปกติ พัฒนาเครื่อง ศูนย์เทคโนโยลีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ทีเมค) ภายใต้ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์คอมพิวเตอร์ (เนคเทค) กล่าวว่า จากจุดเริ่มต้นของนักวิจัยที่ต้องการให้ผู้ขับขี่รถยนต์ทราบถึงระดับ อุณหภูมิของรถยนต์ก่อนที่จะเกิดอันตรายในการขับขี่ จึงเกิดการวิจัยอุปกรณ์แจ้งเตือนเครื่องยนต์มีความร้อนผิดปกติ ช่วยให้ผู้ขับขี่รถยนต์ง่ายต่อการสังเกตความผิดปกติของเครื่องยนต์ สามารถแก้ไข ซ่อมแซมก่อนเกิดความเสียหายที่รุนแรง ประหยัดค่าใช้จ่ายเบื้องต้นไม่ต่ำกว่า 30,000 บาท

โดยขั้นตอนทำงาน ของเครื่องดังกล่าว จะแสดงอุณหภูมิของเครื่องยนต์และภายในห้องโดยสารด้วยหน้าจอแอลซีดีแสดงผล เป็นตัวเลข และระดับสีเขียวเหลืองและแดง ติดตั้งง่าย เพียงติดเซ็นเซอร์ไว้กับเครื่องยนต์ โดยไม่ต้องตัดท่อน้ำ สามารถบันทึกอุณหภูมิด้วยเมมโมรี่การ์ด 1 กิกะไบท์ (SD Memory) ปรับตั้งอุณหภูมิตามความเหมาะสมแต่ละรุ่น และเตือนภัยได้ 2 ระดับคือ แจ้งเตือนเมื่อพัดลมระบายความร้อนหม้อน้ำหยุดทำงาน และเมื่อเครื่องยนต์มีอุณหภูมิสูงผิดปกติ นับเป็นเครื่องแรกของประเทศไทย ที่สามารถแจ้งเตือนได้ถึง 2 ระดับ นอกจากนี้ ยังมีแบตเตอรี่สำรองบันทึกอุณหภูมิได้ตลอดเวลาแม้ไม่ได้ขับขี่ยานพาหนะ

นาย เอกราช กล่าวด้วยว่า หลังจากทดลองใช้งานจริงในรถยนต์ส่วนตัว และรถกระบะ พบว่าสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังติดตั้งเพื่อใช้งานได้ในรถประจำทาง และรถที่ต้องการติดตั้งอุปกรณ์เสริมด้วย เพราะสามารถติดตั้งง่ายไม่จำเป็นต้องดัดแปลงเครื่องยนต์ โดยเครื่องลักษณะนี้ส่วนใหญ่จะมีราคาประมาณ 2,000 บาท อย่างไรก็ตาม งานวิจัยชิ้นนี้ใช้งบประมาณจากเนคเทคจำนวน 500,000 บาท ระยะเวลากว่า 2 ปี โดยปี 2553 ตั้งเป้าผลิตประมาณ 1,000 เครื่อง ซึ่งได้รับความสนใจจากบริษัทเอกชนที่ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ขนาดย่อมด้วย โดยจะเริ่มวางจำหน่ายช่วงเดือน มิ.ย. 2553 จำนวน 100 เครื่องรับประกัน 1 ปี ขณะที่คาดการณ์ว่า จะพัฒนาเครื่องวัดอุณหภูมิน้ำมันในอนาคตด้วย


ที่มาจาก www.vcharkarn.com

วันพุธที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553

เพลาข้อเหวี่ยง (CRANKSHAFT)

เพลาข้อเหวี่ยง (CRANKSHAFT)


เพลาข้อเหวี่ยง (CRANKSHAFT)


แรง ขับที่ใช้ในการขับเคลื่อนล้อของรถยนต์ ได้มาจากการเคลื่อนตัวขึ้นลงของก้านสูบและผลจากหมุนของเพลาข้อเหวี่ยงเพลา ข้อเหวี่ยงได้รับแรงจากลูกสูบและก้านสูบทำให้หมุนด้วยความเร็วสูงด้วยเหตุ นี้มันจึงทำจากเหล็กไฮเกร็ดผสมคาร์บอนซึ่งมีความทนต่อการสึกกร่อนสูง





ข้อเจอร์นัลถูกรองรับด้วยแบริ่งเพลาข้อเหวี่ยงของห้องเพลาข้อเหวี่ยง และเพลาข้อเหวี่ยงหมุนรอบข้อเจอร์นัลนี้ข้อเจอร์นัลแต่ละข้อมีแขนเพลาข้อ เหวี่ยงประกอบอยู่ ข้อเพลาข้อเหวี่ยงติดตั้งอยู่บนเพลาข้อเหวี่ยงเยื้องศูนย์กับแกนของเพลา น้ำหนักถ่วงประกอบอยู่ดังรูป เพื่อลดแรงความไม่สมดุลย์ของการหมุนของเพลาข้อเหวี่ยง ในขณะที่เครื่องยนต์ทำงานที่เพลาข้อเหวี่ยงมีรูน้ำมันเพื่อใช้ส่งน้ำมันหล่อ ลื่นให้กับข้อเจอร์นัล แบริ่งก้านสูบ และสลักก้านสูบ


เพลาข้อเหวี่ยง (Crankshaft) เป็น ส่วนที่สำคัญของเครื่องยนต์ ทำจากเหล็ก กล้าที่มีคาร์บอนสูง หรือเหล็กกล้าผสมนิดเกิล โครเมียม และโมลิบดินั่ม ใช้วิธีเผา ตีขึ้นรูป แล้วใช้เครื่องมือกล กัด กลึง ให้เป็นรูปตามต้องการ ในเครื่องยนต์ขนาดใหญ่ที่จัดวางสูบเป็นแถวเดียว และมีหลายสูบ เพลาข้อเหวี่ยงอาจทำเป็นสองท่อนมีหน้าแปลนตรองปลายสำหรับยึดให้ติดกัน เพลาข้อเหวี่ยงจะต้องแข็งแรงต้านทานแรงที่จะทำให้เพลาคดหรือโค้งได้ นั่นคือ แรงที่กระทำเป็นเส้นตรงจากลูกสูบผ่านก้านสูบมายังเพลาข้อเหวี่ยงและยังต้อง ทนต่อแรงบิดที่เกิดจากก้านสูบ ซึ่งพยายามดันให้เพลาข้อเหวี่ยงหมุนรอบตัวด้วย เพลาข้อเหวี่ยงจะต้องนำมาชุบแข็ง เพื่อลดแรงดันที่เกิดขึ้นในเนื้อโลหะ ซึ่งเกิดจากการตีขึ้นรูป และเป็นการเพิ่มความแข็งแรงให้กับเนื้อโลหะด้วย การชุบแข็งที่ใช้พลังงานไฟฟ้าทำให้เนื้อโลหะด้านนอกร้อนเร็ว นิยมใช้ชุบผิวเพลาข้อเหวี่ยงส่วนที่จะต้องเกิดการเสียดสี ให้มีผิวแข็ง ทนทานต่อการสึกหรอ แต่เนื้อโลหะภายในยังคงเหนียวเหมือนเดิม ผิวของเลาส่วนที่หมุนในแบริ่งจะต้องได้รับการเจียระนัย และขัดเป็นพิเศษเพื่อให้ได้ผิวที่เรียบจริง

ที่มาจาก http://engineerknowledge.blogspot.com

เพลาลูกเบี้ยว

เพลาลูกเบี้ยว


เพลาลูกเบี้ยว ( Camshaft )

เพลาลูกเบี้ยว เป็นเพลาหมุน ที่ถูกสร้างให้บริเวณแกนเพลามีชิ้นโลหะยื่นออกมาในรูปทรง "รูปไข่" โลหะที่ยื่นออกมาจากแกนเพลาที่เป็นรูปไข่นี้เอง เรียกว่า "ลูกเบี้ยว" เมื่อเวลาแกนเพลาหมุน ลูกเบี้ยวก็จะหมุนตามไปกับเพลา


หน้าที่ของเพลาลูกเบี้ยว

เพลา ลูกเบี้ยว ทำหน้าที่ควบคุมการเปิดวาล์วไอดี (ปิดวาล์วไอเสีย) เพื่อให้ไอดีไหลเข้ามาสู่ห้องเผาไหม้ และเปิดวาล์วไอเสีย (ปิดวาล์วไอดี) เพื่อให้ไอเสียไหลออกไป สรุปคือ เมื่อเพลาลูกเบี้ยวหมุนเมื่อใด ก็จะต้องมี การเปิด-ปิดของวาล์ว (Valve) เกิดขึ้นเมื่อนั้น


การติดตั้งของเพลาลูกเบี้ยว

เครื่องยนต์รุ่นเก่า จะมีเพลาลูกเบี้ยว เป็นแกนอยู่ภายในห้องเสื้อสูบ (ห้องเครื่อง) ซึ่งได้รับแรงหมุนมาจาก เพลาข้อเหวี่ยงอีกที เครื่องยนต์ที่มีเพลาลูกเบี้ยวติดตั้งอยู่ในห้องเครื่องนี้ เวลาเพลาลูกเบี้ยวหมุน ก็จะไปดันเอาลูกกระทุ้ง (Cam follower) ให้ไปดันเอาก้านกระทุ้ง (Push rod) ซึ่งแกนอีกด้านหนึ่งของก้านกระทุ้ง ก็จะไปดันกระเดื่องวาล์ว (Rocker arm) ให้ไปกดวาล์วให้เปิดออก เมื่อวาล์วเปิดออก ก็จะส่งผลให้ มีการถ่ายเทอากาศ ในห้องเผาไหม้ (วาล์วที่ติดตั้งอยู่เหนือห้องเผาไหม้เรียกว่า Over Head Valve หรือ OHV) ส่วนเครื่องยนต์ที่มีการติดตั้งเพลาลูกเบี้ยวอยู่ด้านบนของฝาสูบ เรียกว่า Over Head Camshaft หรือ OHC การทำงานในลักษณะนี้ จะไม่ใช้ก้านกระทุ้งในการส่งต่อกำลัง เพราะเพลาลูกเบี้ยว จะควบคุมการ เปิด-ปิดวาล์วด้วยตัวเอง ซึ่งเป็นการควบคุมการทำงานโดยตรง และลดชิ้นส่วนอุปกรณ์ให้น้อยลงด้วย เครื่องยนต์ OHC ส่วนใหญ่จะใช้ลูกเบี้ยว ในการควบคุมการเปิด-ปิดวาล์วโดยตรง แต่ก็อาจมีเครื่องยนต์บางรุ่น ที่ใช้กระเดื่องวาล์ว ในการทำงาน เครื่องยนต์ใดใช้เพลาลูกเบี้ยวแกนเดียว ติดตั้งอยู่เหนือฝาสูบ ในการควบคุมการเปิด-ปิด การทำงานของวาล์ว เรียกเครื่องยนต์นั้นว่า มีการทำงานแบบ Single Over Head Camshaft หรือ SOHC ต่อมามีการออกแบบ ให้มีเพลาลูกเบี้ยวอยู่ 2 แกน ติดตั้งอยู่คู่ขนานกัน แกนหนึ่ง ควบคุมการเปิด-ปิดไอดีโดยเฉพาะ ส่วนอีกแกนหนึ่ง ควบคุมการเปิด-ปิด ไอเสียโดยเฉพาะเช่นกัน เรียกเครื่องยนต์นั้นว่ามีการทำงานแบบ Doble Over Head Camshaft หรือ DOHC ที่เราสามารถเห็นตัวอักษรนี้ พิมพ์ติดอยู่บนฝาวาล์ว ของรถนั่นเอง


วิธีการหมุนของแกนเพลาลูกเบี้ยว

แกนเพลาลูกเบี้ยว ได้รับแรงฉุดให้หมุน จากเพลาข้อเหวี่ยง (Crank shaft) ซึ่งตัวกลางที่ส่งผ่านแรงฉุดนี้ มี 3 ชนิด คือ

1.สายพานราวลิ้น (Timing belt)

2.เฟืองราวลิ้น (Timing gear

3.โซ่ราวลิ้น (Timing chain)

ที่มาจาก http://engineerknowledge.blogspot.com

ผลิตเครื่องยนต์ประหยัดเชื้อเพลิง

ผลิตเครื่องยนต์ประหยัดเชื้อเพลิง


นับ เป็นครั้งแรกที่จีเอ็ม และเอสเอไอซี จับมือกันพัฒนาระบบขับเคลื่อนอันก้าวล้ำ เครื่องยนต์ขนาดเล็กจะเป็นอาวุธหลักในการรุกตลาดที่มีความสำคัญยิ่งทั่วโลก ระบบเกียร์ใหม่ พร้อมดูอัล-คลัตช์ ช่วยประหยัดเชื้อเพลิงยิ่งขึ้น

.

.

จีเอ็ม ประกาศขยายความร่วมมือกับเอสเอไอซี บริษัทผู้ผลิตยานยนต์ของจีน เดินหน้าพัฒนาเครื่องยนต์เบนซินขนาดเล็กและระบบเกียร์อันก้าวล้ำอนาคต โดดเด่นที่ความประหยัดเชื้อเพลิง พร้อมอัตราเร่งที่เหนือกว่าเทคโนโลยีในปัจจุบัน ปูทางสู่การเป็นบริษัทผู้ผลิตยานยนต์ที่ดีที่สุดในโลก

.

การขยายขอบเขต ความร่วมมือในครั้งนี้ เริ่มต้นขึ้นจากการลงนามร่วมกันระหว่าง มร.ทอม สตีเฟนส์ รองประธานฝ่ายดำเนินงานผลิตภัณฑ์ของจีเอ็ม และ มร.เฉิน ฮอง ประธานกรรมการของเซี่ยงไฮ้ ออโตโมทีฟ อินดัสทรี คอร์ปอเรชั่น หรือเอสเอไอซี ที่มหานครเซี่ยงไฮ้ สะท้อนให้เห็นถึงการเป็นพันธมิตรอันแน่นแฟ้นระหว่างจีเอ็ม และเอสเอไอซี ที่มีแนวทางร่วมกันคือการสร้างสรรค์ระบบขับเคลื่อนอันสมบูรณ์แบบ และจะถูกบรรจุไว้ในยานยนต์ที่ดีที่สุดในโลก

.

“การร่วมมือกัน พัฒนาเครื่องยนต์ และระบบส่งกำลังรุ่นใหม่นี้ เกิดขึ้นจากการเป็นพันธมิตรในการร่วมกันคิดค้นนวัตกรรมมาอย่างยาวนานระหว่าง จีเอ็ม และเอสเอไอซี มอเตอร์” มร.สตีเฟนส์ กล่าว “เมื่อเราทำงานร่วมกัน เราจะสามารถสร้างสรรค์เทคโนโลยีซึ่งจะช่วยประหยัดเชื้อเพลิง พร้อมกับสมรรถนะอันยอดเยี่ยมมอบให้แก่ลูกค้า”

.

เครื่องยนต์ เบนซินรุ่นใหม่นี้ จะมีขนาดตั้งแต่ 1.0 ลิตร ถึง 1.5 ลิตร ซึ่งถือเป็นตลาดที่มีความสำคัญยิ่งในระดับโลก ด้วยขนาดที่เล็ก น้ำหนักเบา ใช้ระบบหัวฉีดไดเรคอินเจคชั่น รวมถึงมีระบบเทอร์โบชาร์จ จะทำให้ลูกค้าได้สัมผัสกับสมรรถนะ และอัตราความประหยัดที่เหนือกว่าเทคโนโลยีในปัจจุบัน ซึ่งเครื่องยนต์รุ่นใหม่นี้จะเป็นหัวใจขับเคลื่อนในยานยนต์ของจีเอ็ม และเอสเอไอซี มอเตอร์ในประเทศจีน รวมถึงรถที่จะเปิดตัวในอนาคตอีกด้วย

.

การพัฒนาด้าน วิศวกรรมของเครื่องยนต์รุ่นใหม่นี้ จะเป็นการร่วมมือกันของทีมวิศวกรของจีเอ็ม ในดีทรอยท์ และทีมวิศวกรของเอสเอไอซี จากศูนย์เทคนิคยานยนต์แพนเอเชีย หรือพาแทค ซึ่งเป็นกลุ่มร่วมทุนด้านการพัฒนาวิศวกรรม และการออกแบบในเซี่ยงไฮ้

.

เครื่องยนต์ รุ่นใหม่ที่จะถ่ายกำลังลงพื้นด้วยระบบขับเคลื่อนล้อหน้านี้ จะใช้เทคโนโลยีล่าสุดเพื่อยกระดับความประหยัด และอัตราเร่ง ผนวกกับระบบเกียร์อันทันสมัยที่จะช่วยเพิ่มความประหยัดเชื้อเพลิงได้อีกถึง 10 เปอร์เซนต์ เมื่อเทียบกับระบบเกียร์อัตโนมัติ 6 สปีดที่มีอยู่ในปัจจุบัน

.

นอกจากนี้ ระบบเกียร์ดังกล่าวยังใช้เทคโนโลยีดูอัล-คลัตช์แบบแห้ง ซึ่งช่วยในเรื่องความลื่นไหล สะดวกสบาย ยิ่งกว่าระบบเกียร์อัตโนมัติทั่วไป อีกทั้งยังช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อีกด้วย

.
เมื่อ ผนวกทุกเทคโนโลยีเข้าไว้ด้วยกัน จะช่วยลดการปล่อยมลพิษลงได้สูงสุดถึง 20 เปอร์เซนต์ เมื่อเทียบกับเครื่องยนต์ และระบบเกียร์ที่ผลิตในประเทศจีน เวลานี้
.

“ข้อตกลงความ ร่วมมือพัฒนาระหว่างจีเอ็ม และเอสเอไอซี ถือเป็นการเปิดประวัติศาสตร์หน้าใหม่อันน่าตื่นเต้นอย่างยิ่ง” หู เหมาหยวน ประธานใหญ่เอสเอไอซี มอเตอร์ กล่าว “ไม่เพียงแต่จะพัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หากจีเอ็ม และเอสเอไอซี ยังร่วมกันคิดค้นระบบวิศวกรรมอันก้าวหน้า พร้อมกับมีความรับผิดชอบต่อสังคมอีกด้วย”

ที่มาจาก www.thailandindustry.com

ความหมาย O-ring (โอริง)

ความหมาย O-ring (โอริง)


O-ring = โอ-ริง หมายถีงแหวนยางรูปวงกลมหรือรูปตัวโอ ก็เลยเรียกโอ-ริง ไม่ใช่ยี่ห้อของประเทศอะไรทั้งนั้น ใช้งานเพื่อกันกระแทกหรือป้องกันการรั่วซึม โซ่แบบโอ-ริงคือโซ่ที่จรงข้อต่อโซ่ปกติจะมีจารบีเคลือบชิ้นส่วนภายในอยู่ ถ้าเป็นโซ่แบบธรรมดาเวลาล้างหรือใช้งานไปนานๆจารบีจะหลุดออกมา การหล่อลื่นจะลดลง แต่แบบโอ-ริงจะมีแหวนยางตัวเล็กๆทำหน้าที่กั้นไมให้จารบีภายในข้อต่อไหลออก มาและป้องกันน้ำหรือสิ่งสกปรกเข้าไปภายใน ทำให้ใช้งานได้คล่อง ลื่นดีกว่าและทนกว่า Ohlins = โอลีน (ออกเสียงว่า OH-LEEN) เป็นยี่ห้อของผู้ผลิตอุปกรณ์กันสะเทือนและอุปกรณ์ไฮดรอลิคส์จากประเทศสวีเดน ได้ชื่อว่าเป็นผู้ผลิตช็อคอับที่ดีที่สุด นิยมใช้ในรถราคาแพงและรถแข่ง

ผลิตภัณฑ์โอริง จากผู้ผลิตชั้นนำ ทั้งจากยุโรป อเมริกา และญี่ปุ่น แนะนำโอริงคุณภาพสูง สำหรับ การใช้ในอุตสาหกรรม ต่าง โอริงที่นิยม ใช้กันมาก ในอุตสาหกรรม ที่เกี่ยวข้องกับไฮดรอลิกนั้น ต้องทนน้ำมันได้ดีโดยส่วนมาก ที่ใช้ในอุตสาหกรรมทั่วๆไปจะเป็นยาง "ไนไทรล์" (nitrile)หรือ NBR โอริงที่ดีนั้น ต้องเป็นโอริงที่สามารถ ทนความร้อน ในอุณหภูมิระหว่างการทำงาน ได้ตั้งแต่ -40? Cจนถึง +110? C โดยมีความแข็ง วัดได้ตามมาตรฐานที่ 70? Shore A ถ้าต้องการ โอริงที่ทนความร้อน ได้ถึง+230? C นั้น ยาง "ฟลูโอโรคาร์บอน"หรือ "ไวตัน" (viton) จะเป็นที่นิยมใช้กันมาก ในลักษณะงาน ที่เกี่ยวข้องกับ ความร้อนสูง ฉะนั้นแล้ว ควรจะรู้ให้ละเอียดว่า ต้องการโอริง ไปใช้กับลักษณะงานประเภทใด มีเคมี เข้ามาเกี่ยวข้อง ด้วยหรือไม่ และ ใช้สารเหลวอะไร ในการทำงาน เพี่อที่ทางผู้จำหน่าย จะได้แนะนำเนื้อยาง (material) ให้ถูกต้องกับงานนั้น เพราะ เนื้อยาง มีให้เลือกมากกว่า10 ชนิด เพื่อให้เหมาะสม กับลักษณะงานของท่าน โอริง ยังมีให้เลือกขนาด ตามต้องการ โดยมีขนาดวงใน ที่ใช้กับงานทั่วไป ตั้งแต่ 0.74 mm. จนถึง 1560 mm. และมีขนาดของความหนา ให้เลือกตั้งแต่1.0 mm.จนถึง 10.00 mm. หรือ ถ้าเป็นโอริงขนาดพิเศษ ก็สามารถสั่งทำได้ โดยอาจจะมีจำนวนขั้นต่ำ ที่กำหนด โดยผู้ผลิตชั้นนำ อย่างเช่น Parker (สหรัฐอเมริกา), EVCO (ฝรั่งเศส), Eriks (ฮอลแลนด์), Skega (สวีเดน), NOK (ญี่ปุ่น)

ที่มาจาก http://engineerknowledge.blogspot.com

วันศุกร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2553

Hydrogen Car

Hydrogen Car ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้นและยังมีความผันผวนทำให้ภาครัฐรณรงค์ประหยัดพลังงาน อย่างหนัก ส่วนอีกซีกหนึ่งของโลกก็กำลังขะมักเขม้นค้นคว้านวัตกรรมยานพาหนะแบบไม่ใช้ น้ำมัน ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์เซลล์เชื้อเพลิง รถยนต์พลังไฮโดรเจน เป็นต้น เพื่อแก้ปัญหาราคาน้ำมันที่แพงขึ้นกอปรกับปริมาณสำรองที่ลดลงในระยะยาว เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา รถแข่งที่ชื่อ H2Rจากค่าย BMW ได้ทำการเปิดตัวในงานมอเตอร์โชว์ที่เมืองลอสแองเจริส ประเทศสหรัฐอเมริกา จุดเด่นของรถดังกล่าวคือ ใช้ไฮโดรเจนเป็นเชื้อเพลิง รถคันนี้ของ BMW มีจุดต่างคือเป็นรถที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายในแต่ใช้ไฮโดรเจนเป็นเชื้อ เพลิง ซึ่งต่างจากรถยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง . จริง ๆ แล้วรถนี้ใช้เครื่องยนต์ชนิดเดียวกับรถซีดานรุ่น 760i มีกำลัง 286 แรงม้า อัตราเร่ง 0-60 ไมล์/ชั่วโมง ภายใน 6 วินาที และวิ่งได้เร็ว 187 ไมล์/ชั่วโมง จาการทดสอบที่สนามแข่ง Miramas ประเทศฝรั่งเศส โดยมีวัตถุประสงค์คล้าย ๆ กับค่ายรถอื่น ๆ กล่าวคือมีความตระหนักถึงราคาน้ำมันที่มีราคาสูงขึ้น ปริมาณน้ำมันบนโลกลดน้อยลง และรักษาสิ่งแวดล้อม และได้คำนึงถึงปัญหาเรื่องปริมาณปั๊มจำหน่ายไฮโดรเจนยังมีไม่แพร่หลาย ซึ่งยังมีไม่ถึง 100 แห่งทั่วโลก
รถคันนี้จึงถูกออกแบบให้ใช้ Bi-fuel ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งไฮโดรเจนหรือน้ำมันเบนซิน (เช่นเดียวกับ รถ Taxi บ้านเราที่เติมได้ทั้งน้ำมันเบนซินและ ก๊าซ NGV) ถ้าขับในเขตเมืองจะใช้ไฮโดรเจนแต่ถ้าขับบนทางด่วนหรือมอเตอร์เวย์ เพียงกดปุ่มให้เปลี่ยนไปใช้น้ำมันเบนซิน และเมื่อขับอยู่ในโหมดไฮโดรเจนจนกระทั่งเกิน 345 KM โปรแกรมจะเปลี่ยนไปใช้น้ำมันอย่างอัตโนมัติได้อีก 800 KM . ถึงแม้ว่าการเผาไหม้ไฮโดรเจนของเครื่องยนต์สันดาปภายในจะยังก่อให้เกิดมล ภาวะต่อสิ่งแวดล้อมคือปลดปล่อย NOx ออกมาเล็กน้อย ในขณะที่รถยนต์เซลล์เชื้อเพลิงไม่ปลดปล่อยมลพิษออกมานอกจากน้ำ . แต่ BMW ย้ำว่าระดับ NOx ที่ออกจากท่อไอเสียอยู่ในระดับต่ำมาก ๆ และต่ำกว่าระดับมาตรฐานการปล่อยมลภาวะจากยานพาหนะของรัฐแคลิฟอร์เนีย (Super Ultra Low Emission Vehicle) ซึ่งจัดว่าเข้มงวดมาก ส่วนอีกประเด็นที่ยังมีการตั้งคำถามคือความปลอดภัย เนื่องจากรถนี้ใช้ไฮโดรเจนเหลว ซึ่งต้องเก็บภายใต้อุณหภูมิต่ำมาก (-253 ๐C)
ถ้ารถยนต์มีการใช้งานเป็นประจำระบบ Cryogenic จะควบคุมอุณหภูมิโดยอัตโนมัติแต่ถ้าจอดรถยนต์ทิ้งไว้ 3-4 วัน ของเหลวจะเริ่มเดือดและไฮโดรเจนจะถูกปลดปล่อยทางท่อระบายอากาศ แต่ไฮโดรเจนมีอันตรายน้อยกว่าไอระเหยจากน้ำมันเบนซินเนื่องจากไฮโดรเจนมี น้ำหนักเบาจึงกระจาย เจือจางอย่างรวดเร็ว ซึ่งแม้กระทั่งถังไฮโดรเจนรั่วยังไม่ระเบิดเลย . BMW กำหนดแผนที่จะทำตลาดรถรุ่น BMW ซีรี่ส์ 7 ใช้ไฮโดรเจนในยุโรปในอีก 3 ปีข้างหน้า และคาดว่าจะออกสู่ตลาดอเมริกาประมาณปี 2010 เมื่อถึงเวลานั้นปั๊มจำหน่ายไฮโดรเจนให้เห็นมากขึ้นในเมืองใหญ่ ๆ . รัฐบาลเยอรมันให้การสนับสนุนการพัฒนาปั๊มจำหน่ายไฮโดรเจน โดยมีเครื่องผลิตไฮโดรเจนภายในปั๊มเองเพื่อจะได้ไม่ต้องพึ่งท่อส่งไฮโดรเจน หรือรถบรรทุกไฮโดรเจนที่ยังต้องใช้น้ำมันดีเซลในการขนส่งอีก รัฐบาลสหรัฐจัดสรรงบประมาณ 190 ล้าน USD ระยะเวลา 5 ปี เพื่อสร้างปั๊มจำหน่ายไฮโดรเจน และบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ Shell Oil และ บริษัทผลิตรถยนต์ GM ร่วมกันเปิดปั๊มไฮโดรเจนแห่งใหม่ที่วอชิงตัน . ส่วนรัฐแคลิฟอร์เนียได้เซ็นต์สัญญาว่าจ้างบริษัท Air Products & Chemicalsซึ่งเป็นบริษัทเชี่ยวชาญด้านผลิตไฮโดรเจนของโลกซึ่งมีประสบการณ์ สร้างปั๊มไฮโดรเจนมาแล้ว 30 แห่งทั่วโลก เพื่อทำการก่อสร้างปั๊มจำหน่ายไฮโดรเจน 24 แห่งในรัฐแคลิฟอร์เนีย
สำหรับเทคโนโลยีในการผลิตไฮโดรเจนสำหรับรถยนต์พลังไฮโดรเจนได้แก่ วิธีอิเล็กโตรไลซิส (Electrolysis) ใช้น้ำเป็นวัตถุดิบ และวิธีการเผาไหม้ไพโรไลซีส ใช้ชีวมวลพวกเศษไม้ หรือของเหลือทางการเกษตรเป็นวัตถุดิบ โดยวิธีอิเล็กโตรไลซีสเป็นเทคโนโลยีที่คุ้มค่าสำหรับประเทศที่มีราคาน้ำมัน เบนซินแพง ๆ อย่างประเทศในยุโรป . โดยประเทศเยอรมันกำลังทดลองสร้างปั๊มไฮโดรเจนที่ใช้ระบบอิเล็กโตรไลซิสและ ใช้พลังงานลมในการแยกไฮโดรเจนออกจากน้ำ ที่ต้นทุน 2 USD/kg ไฮโดรเจน แต่วิธีอิเล็กโตรไลซิสอาจจะไม่เหมาะกับประเทศสหรัฐ เนื่องจากระบบอิเล็กโตรไลซิสต้องใช้ไฟฟ้าในการแยกไฮโดรเจนออกจากน้ำ ต้นทุนการผลิตไฮโดรเจนด้วยวิธีนี้ประมาณ 2.5 USD/kg ไฮโดรเจน (1 kg ไฮโดรเจน ให้พลังงานเทียบเท่า 1 แกลลอนน้ำมันเบนซิน) . แต่อย่างไรก็ตามทางสหรัฐยังมีความพยายามที่จะพัฒนาระบบอิเล็กโตรไลซิสมาใช้ ในประเทศตามความเหมาะสม กล่าวคือจะเลือกใช้เทคโนโลยีนี้กับพื้นที่ ๆ มีแหล่งผลิตไฟฟ้าราคาถูกจากพลังงานลม และพลังงานแสงอาทิตย์ ดังรูปแผนที่แสดงศักยภาพของชีวมวล พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ของประเทศสหรัฐ จะเห็นว่าพื้นที่ในทิศตะวันตกของประเทศจะมีศักยภาพในการใช้พลังงานลมและแสง อาทิตย์มาผลิตไฟฟ้า
ส่วนวิธีการเผาไหม้ไพโรไรซีสโดยใช้ชีวมวล สหรัฐมีศักยภาพสูง ต้นทุนการผลิตไฮโดรเจนจากวิธีนี้ยังแพงอยู่ที่ 3 USD/kg ไฮโดรเจน แต่นักวิจัยคาดว่าต้นทุนจะลดลงอยู่ที่ 2.6 USD/kg ในปี 2010 และด้วยปริมาณชีวมวลที่มีอยู่ ทำให้ในอนาคตอันใกล้สหรัฐจะสามารถผลิตไฮโดรเจนจากชีวมวลไว้ใช้โดยไม่ต้อง พึ่งพาการผลิตไฮโดรเจนจากก๊าซธรรมชาติอย่างปัจจุบัน ซึ่ง 90% ของไฮโดรเจนได้มาจากก๊าซธรรมชาติ . • อิเล็กโตรไลซิส ใช้ไฟฟ้าแยกไฮโดรเจนออกจากน้ำ ต้นทุน 2.0 USD/kg สำหรับโรงผลิตขนาดใหญ่ ต้นทุน 2.5 USD/kg สำหรับปั๊มขนาดเล็ก • ชีวมวล ใช้ของเหลือใช้ทางการเกษตร โดยการเผาไหม้ไพโรไลซิส ต้นทุน 2.6-3.0 USD/kg ไฮโดรเจน • เชื้อเพลิงเหลว (NG รวมถึง ถ่านหินเหลว) ต้นทุน 1.5 USD/kg ไฮโดรเจน . ประสิทธิภาพของรถ H2R 187 ไมล์/ชั่วโมง อัตราเร่ง 6 วินาที ถือว่าเป็นเพียงการเริ่มต้น ในขณะที่ ราคาน้ำมันแพงขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนต้นทุนไฮโดรเจนมีแนวโน้มลดลง เราคงได้เห็นรถยนต์ใช้ไฮโดรเจนที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นและขยายไปยานพาหนะ ประเภทอื่นในอนาคตอันใกล้